เกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge)
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าตัว เครื่องมือวัด เกจวัดแรงดัน ที่สามารถใช้วัดแรงดัน ที่สำคัญคือเครื่องมือนี้ จำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นประจำด้วยนะครับ แต่ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับเครื่องมือวัดที่ว่ากันนี้ เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ คำจำกัดความของคำว่า “แรงดัน (Pressure) กันก่อนครับ เราจะได้นึกภาพออกเมื่อถึงเวลาที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
แรงดัน คือ อัตราส่วนระหว่างแรงที่จะกระทำให้เกิดการตั้งฉากซึ่งจะทำโดยของแข็ง ของเหลว แก๊ส หรือ อากาศ ต่อพื้นที่ของสารใดๆ โดยความดันจะเป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดแบบไม่มีทิศทางนั้นเอง โดยแรงดัน (Pressure, P) คือค่าที่บ่งบอกถึงจำนวนแรง (Force, F) หรือน้ำหนัก (Weight, W) ที่กดลงในทิศทางที่ตั้งฉากกับพื้นที่มีหน่วยเป็นแรงต่อพื้นที่ เช่น นิวตันต่อตารางเมตร (N/m2), กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm2), ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (Psi) เป็นต้น
ในระบบ SI ความดัน มีหน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตร (N/m2) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ปาสคาล” (pascal) นั่นคือ 1 pascal = 1 Pa = 1 N/m2 (บางครั้งเราอาจพบหน่วย ปอนด์ต่อตารางนิ้ว: lb/in2) แต่ 1 Pa เป็นขนาดที่เล็กมาก โดยทั่วไปเรามักพบขนาด 105 Pa ซึ่งเรียกว่า 1 bar ดังนั้น 100 Pa คือ 1 millibar
โดยหน่วยในการอ่าน แรงดัน จะมีคร่าวๆดังนี้
- psi : ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
- kPa : กิโลปาสคาล
- kg/cm2 : กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
- cm of H2O : น้ำเซนติเมตร
- inches of Hg : นิ้วปรอท
- mm of Hg : มิลลิเมตรปรอท
- inches of H2O : นิ้วน้ำ
- atmospheres : บรรยากาศมาตรฐาน
- bar : บาร์
- mbar : มิลลิบาร์
- Mpa : เมกะปาสคาล